ห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารี อ.ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี ยินดีต้อนรับ

วันจันทร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2553

ข้อมูลท้องถิ่น

ห้องสมุดประชาชน “ เฉลิมราชกุมารี “ อำเภอดอนเจดีย์
ความภาคภูมิสูงสุดของการดำเนินงาน ห้องสมุดประชาชน “ เฉลิมราชกุมารี “ อำเภอดอนเจดีย์ คือ การประสานการดำเนินงานของชนทุกหมู่เหล่า ทั้งคณะสงฆ์ ทั้งภาครัฐ ร่วมวางแผนรวมดำเนินงาน ร่วมแก้ปัญหา เพื่อแสวงหาแนวทางที่ดีที่สุด รวมทั้งเตรียมแผนระยะยาวในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของ
รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดห้องสมุดประชาชน “ เฉลิมราชกุมารี “ บนดินแดนแห่งประวัติศาสตร์ ให้ชาวโลกได้สรรเสริญสืบไป
ห้องสมุดประชาชน “ เฉลิมราชกุมารี “ อำเภอดอนเจดีย์ ตั้งอยู่บริเวณพระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ หมู่5 ตำบลดอนเจดีย์ อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี เบอร์โทรศัพท์ 0-3550-7447 เริ่มก่อสร้างในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2536 โดยความร่วมมือ ร่วมใจ ภาครัฐ และคณะสงฆ์ของจังหวัดสุพรรณบุรี การก่อสร้างอาคารห้องสมุดประชาชน “ เฉลิมราชกุมารี “ อำเภอดอนเจดีย์ เริ่มแรกนั้นได้รับความอนุเคราะห์จากเจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรีพระราชปริยัติสุธี เจ้าอาวาสวัดดอนเจดีย์ได้แบ่งเนื้อที่วัดดอนเจดีย์ จำนวน 2 ไร่ และเป็นผู้ที่หาทุนทรัพย์ในการก่อสร้างจนแล้วเสร็จในการดำเนินการสร้างนั้นได้มอบหมายให้พระมหาประไพ ปุญญกาโม เจ้าคณะตำบลดอนเจดีย์ (ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดดอนเจดีย์) เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง
ห้องสมุดประชาชน “ เฉลิมราชกุมารี “ อำเภอดอนเจดีย์ มีลักษณะเป็นอาคารทรงไทย 2 ชั้น ชั้นล่างอยู่ต่ำกว่าพื้นที่ดินประมาณ 1 เมตร มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 833 ตารางเมตร เริ่มก่อสร้างในเดือนกุมภาพันธ์ 2536 ใช้ทุนทรัพย์ในการก่อสร้างจัดกิจกรรมและนิทรรศการเกี่ยวกับงานการศึกษานอกโรงเรียน ประวัติเมืองสุพรรณเป็นจำนวนเงินประมาณ 10 ล้านบาท โดยได้รับความอนุเคราะห์จากรองเจ้าอาวาสเจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี ( พระราชปริยัติสุธี ) เป็นผู้จัดหาทุนในการก่อสร้างจากผู้มีจิตศรัทธา จำนวน 154 ราย เช่น นายขรรค์ชัย บุญปาน, นางเฉลียง, นางตลับ พลเสน, นายอำนวย ฉิมพันธ์ เป็นต้น อาคารแล้วเสร็จและทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2540 ภายในอาคารห้องสมุดประชาชน “ เฉลิมราชกุมารี “ อำเภอดอนเจดีย์ได้จัดกิจกรรมต่าง ๆ มากมายเชื่อมโยงจนมาถึงปัจจุบัน พสกนิกรมีความสงบร่มเย็น มีความสุขในวิถีชีวิตของตน ห้องสมุดประชาชน “ เฉลิมราชกุมารี “อำเภอดอนเจดีย์ จะเป็นศูนย์กลางของการแสวงหาความรู้ตลอดชีวิต โดยไม่มีข้อจำกัด พื้นที่ 833 ตารางเมตร ได้แบ่งสัดส่วนเพื่อให้เกิดประโยชน์การใช้สอยสูงสุด เป็นห้อง และมุมต่างๆ ดังนี้